Tuesday, November 11, 2014

Route Survey คืออะไร



Route surveying is comprised of all survey operations required for design




lntroduction
             การรังวัดมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำแผนที่หรือแปลนของ พื้นที่ต่าง ๆ ที่ต้องการรังวัด ศาสตร์ของการรังวัดได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยที่มนุษย์เริ่มรู้จัก อารยธรรมใหม่ ๆ เมื่อมนุษย์เริ่มมีความคิดที่จะแสดงความเป็นเจ้าของที่ดินที่ตัวเองครองอยู่ มนุษย์ได้คิดค้นวิธีที่จะทำแผนที่เพื่อแสดงแนวขอบเขตของที่ดินของตัว ดังนั้นการรังวัดในสมัยต้น ๆ จะมุ่งเฉพาะการทำแผนที่ที่ดินเท่านั้น เมื่อโลกเจริญขึ้นศาสตร์ของการรังวัดก็ได้พัฒนาและมีความสำคัญมากขึ้นเป็น ลำดับ การก่อสร้างทางวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน ทางรถไฟ การวางท่อระบายเสาไฟฟ้าแรงสูง ฯลฯ จะทำไม่ได้เลยถ้าไม่มีแผนที่ที่ถูกต้อง
          ถ้าจะแบ่งงานรังวัดตามวัตถุประสงค์แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
1.) งานรังวัดที่ทำขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตของที่ดิน
2.) งานรังวัดที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรายละเอียดสำหรับใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างทั้งของรัฐและเอกชน
3.) งานรังวัดที่มีขอบข่ายกว้างขวางและมีความถูกต้องสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยรัฐบาล

      การสำรวจเส้นทางประกอบไปด้วยการดำเนินงานที่จำเป็นสำหรับออกแบบเพื่อการก่อสร้างและการก่อสร้างทางด้านวิศวกรรม เช่นงานทางหลวง งานท่อ งานชลประทาน งานทางรถไฟ การสำรวจเพื่อหาเส้นทางเพื่อเอาข้อมูลมาใช้ออกแบบ งานทางหลวง และงานก่อสร้างมีกระบวนการอยู่ 4 กระบวนการที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้

รูปที่ 1 การสำรวจ และ การวางแผน

รูปที่ 2 การออกแบบ
รูปที่ 3 การเลือกเส้นทางที่เหมาะสม

รูปที่ 4 งานก่อสร้าง

การประยุกต์
       การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียม เพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวงกรณีศึกษาทาง  มี วัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาแนวทางการใช้วิธีการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ เชิงเลข ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับงานด้านการสำรวจและออกแบบทางหลวง ซึ่งด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน วิธีการข้างต้นเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการสำรวจรังวัดพิกัดตำแหน่ง การตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ได้ทำการรังวัดภาคสนาม



Monday, November 10, 2014

แนวโค้ง



โค้งกลับทิศทาง : Reversed curve


                            โค้ง ผสมที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงข้ามกัน ประกอบด้วยโค้ง สองโค้งมีจุด PRC (Point of reverse curve) เป็นจุดร่วมหรือมีเส้น สัมผัสที่ต่อเชื่อมระหว่างโค้ง เรียกว่า เส้น สัมผัสร่วม (Intermediate tangent) 


รูปที่ 1 การออกแบบโค้งผสม


รูปที่ 2  ชนิดเส้นสัมผัสร่วม
รูปที่ 3 การวางเส้นโค้งผสม

          Intermediate tangent จะอยู่ระหว่างโค้ง ทำหน้า ที่แยกโค้ง สองโค้ง ออกจากกัน และควรมีความยาวประมาณ 100 เมตร
โค้งกลับทิศทางต่อกันที่จุด PRC
1. ประเภทที่ 1:  รัศมียาวไม่เท่ากัน คำนวณเสมือนโค้ง วงกลมสองวงต่อกัน
  
2. ประเภทที่ 2: รัศมียาวเท่ากันคำนวณหารัศมีที่ใช้กับทั้งสองโค้ง ได้ดังนี้




โค้งกลับทิศทางที่มีเส้นสัมผัสขนานกัน


ประเภทที่ 1: รัศมียาวเท่ากัน   


ประเภทที่2:รัศมีไม่เท่ากัน



โค้งผสม : Compound curve

        โค้ง ที่ประกอบด้วยโค้งวงกลมหลายโค้ง มาต่อกัน และจุศูนย์กลางโค้ง  ทั้งหมดจะอยู่ซีกเดียวกันของเส้นสัมผัส และรัศมีของโค้ง ที่เชื่อมต่อกันจะยาวไม่เท่ากัน จุดที่ความยาวโค้ง ต่อกัน คือ Point ofcompound curve (PCC)
ส่วนสำคัญของโค้ง ผสม: มุมเหของโค้ง ร่วม (ΣΔi) รัศมีของโค้งร่วม (Ri) เส้น สัมผัสเส้น ยาว/เส้น  สั้น (TL/TS) และ Δ ของโค้ง ผสม

โค้ง ผสมชนิด 2 ศูนย์กลาง : Two center compoundcurve
ข้อมูลที่ทราบจากการสำรวจภาคสนาม: Δของแต่ละโค้ง ย่อยและค่า R ของแต่ละโค้งย่อย







โค้งวงกลม :CIRCULAR CURVE


เป็นโค้งราบ  นิยมใช้กับถนนหรือทางรถไฟที่ต้องการให้ยวดยานเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงใช้แทนโค้งอันตราย (Sharp curve) ทางเลี้ยวทางแยกต่างระดับ (Interchange) ทางแยก (Intersection) ช่วยให้คนขับสามารถค่อยๆ บังคับรถให้เลี้ยวได้ง่ายในขณะที่ใช้ความเร็วสูง ทำให้รถไม่เสียหลัก


1. แนวคิดลดรัศมีของโค้งวงกลม (R) ลงเท่ากับ P

              2. แนวคิดเลื่อนโค้งวงกลมลงมาโดยที่โค้งไม่เปลี่ยนแปลงเลย (Shift circular curve)
             3. แนวคิดให้รัศมีโค้ง และองศาโค้ง เหมือนเดิม และจุดศูนย์กลางคงที่แต่เลื่อนเส้น สัมผัสโค้ง วงกลมออกไป (Shift tangent line)
4. เนื่องจากโค้ง วงกลมเดิมเป็นโค้ง อันตราย จึงเปลี่ยนเป็นโค้ง ผสมเพื่อให้สามารถใส่ Spiral curve ได้

การหาส่วนต่างๆ ของ Spiral curve










Sunday, November 9, 2014

หน้าที่การทำงาน

Alignment  Party And Traverse Party
1. หัวหน้าหน่วยสำรวจ (Party  chief) 
         - วางแผนที่ได้รับมอบหมาย
         - เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจให้พร้อมก่อนเริ่มทำงาน
         - ควบคุมลูกทีมให้ปฏิบัติงานตามที่แบบแผนที่วางไว้
         - ควบคุมดูแลการใช้อุกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในภาคสนาม
         - คอยตรวจสอบสมุดภาคสนามของลูกทีมเสมอ
         - ติดต่อสอบถามและแจ้งกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน
         - ส่งข้อมูลภาคสนามให้หัวหน้าโครงการ
         - สรุปประมวลผลการทำงานและส่งรายงานการปฏิบัติงานให้แก่หัวหน้าโครงการ
         - ดูแลรับผิดชอบการทำงานขอลลูกน้องในทีม

2. คนจดสมุดสนาม (Recorder) 
        - บันทึกค่าต่างในการทำงาน   เช่น  ค่ามุม  ระยะ  ลักษณะของจุด และ สเก๊ตรูป ในพื้นที่ที่ปฎิบัติงาน
        - คำนวณโค้งพร้อมทั้งตารางสำหรับใช้วางโค้ง
        - ควบคุมการทำงานของคนวัดระยะ  และคนงานถางป่า
        - รับผิดชอบต่อผลงานของตน

3.คนส่องกล้อง  (Intrument  man)
      - ใช้กล้องในการทำงานทั้งหมด  เช่น  วัดมุม  วางโค้ง  ให้แนว เป็นต้น
      - ดูแลรักษากล้องที่ใช้ในภาคสนามทุกตัว
      - ดูแลรับผิดชอบในกล้องที่ตัวเองใช้
      - รับผิดชอบในผลงานของตน

4.ผู้ช่วยคนส่องกล้องหรือคนส่องหมุดหน้า (Assistance  instrument  man)
      - ทำหมุดบนแนวของกล้องซึ่งเป็นแนวของ  Alignment  ที่เลือกได้แล้ว
      - ตั้งเป้าหน้าเมื่อคนกล้องต้องการวัดมุม
      - ควบคุมแนวถางป่าให้ถูกต้องตามแนวของกล้อง
      - รับผิดชอบต่อผลงานของตน

5. คนดิ่งเทป (Chainman)
       - วัดระยะของแนวทาง
       - ทำจุดของ สถานี ต่างๆ พร้อม  Offset
       - รับผิดชอบเครื่องมือที่ใช้
       - รับผิดชอบต่อผลงานของตน




Benchmark  And  Profile  Leveling  Party
1.คนส่องกล้อง (Instrument  man)
      - ใช้กล้องในการทำงานทั้งหมด
      - รักษากล้องที่ใช้ในภาคสนามให้เรียบร้อย
      - รับผิดชอบต่อกล้องที่ตัวเองใช้
      - รับผิดชอบต่อผลงานของตน

2. คนจดสมุดสนาม (Recorder)
      - จดค่าต่างๆ ในการทำงาน เช่น ค่าการอ่าน ไม้ระดับ สเก็ตรูปบริเวณที่ทำงาน ให้เรียบร้อย
      - ทำการคำนวณค่า B.M.
      - ควบคุมการทำงานของคนถือไม้สต๊าฟ
      - รับผิดชอบต่อผลงานของตน

3. คนถือไม้สต๊าฟ (Rod man)
      - ถือไม้ระดับให้  คนส่องกล้อง อ่านค่า
      - ทำ B.M.
      - รับผิดชอบต่อเครื่องมือที่ใช้
      - รับผิดชอบต่อการทำงานของตน



Cross  Section Party
1. คนส่องกล้อง (Instrument man)
      - ใช้กล้องในการทำงานทั้งหมด
      - รักษากล้องที่ใช้ในสนามทั้งหมด
      - รับผิดชอบกล้องที่ใช้
      - รับผิดชอบต่อการทำงานของตน

2. คนจดสมุดสนาม (Record)
      - จดค่า จากไม้ระดับ โดยการอ่านของคนส่องกล้อง ลงในสมุดบันทึกค่า ให้เรียบร้อย
      - ควบคุมการทำงานของคนถือไม้สต๊าฟ
      - รับผิดชอบต่อผลงานของตน

3. คนถือไม้สต๊าฟ (Rod man)
     - ถือไม้ระดับ ให้ คนส่องกล้อง อ่านค่า
     - วัดระยะของจุดตั้ง ไม้ระดับ
     - รับผิดชอบต่อเครื่องมือที่ใช้
     - รับผิดชอบต่อการทำงานของตน

Topographic  Party
1. คนส่องเครื่องมือส่องฉาก (Chain man)
      - ส่องเครื่องมือส่องฉาก
      - วัดระยะหว่าง  สถานีต่าง และวัดระยะของจุด Offset
      - รับผิดชอบต่อเครื่องมือที่ใช้
      - รับผิดชอบต่อการทำงานของตน

2. คนจดสมุดสนาม(Record)
      - สเก็ตรูปต่างๆ พร้อมบันทึกค่าตำแหน่งของสิ่ง ต่างๆ
     - ควบคุมการทำงานของ คนลากเทปวัด   
     - รับผิดชอบต่อผลงานของตน